วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Updateล่าสุด วันหยุดราชการ 2560 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม





หยุดยาวเดือนกรกฎาคม 2560
วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา หยุดติดกัน 4 วัน
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 วันอาสาฬหบูชา
วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560 วันเข้าพรรษา
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2560 วันหยุดชดเชยอาสาฬหบูชา
วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2560 วันหยุดชดเชยวันเข้าพรรษา
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร หยุดติดกัน 3 วัน
วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2560
วันเสาร์ ที่ 29 กรกฎาคม 2560
วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2560  
หยุดยาวเดือนสิงหาคม 2560
วันแม่แห่งชาติ หยุดติดกัน 3 วัน
วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2560 วันแม่แห่งชาติ
วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2560
วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 วันหยุดชดเชยวันแม่แห่งชาติ
หยุดยาวเดือนตุลาคม 2560
วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หยุดยาว 3 วัน 
วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560 วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2560 
วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลคม 2560 
วันปิยมหาราช หยุดติดกัน 3 วัน
วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2560 
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2560
วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2560 วันปิยมหาราช
หยุดยาวเดือนธันวาคม 2560
วันรัฐธรรมนูญ หยุดติดกัน 3 วัน
วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2560
วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2560 วันรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ
วันขึ้นปีใหม่ หยุดติดกัน 4 วัน
วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2560
วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2560 วันสิ้นปี
วันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2561 วันขึ้นปีใหม่
วันอังคารที่ 2 มกราคม 2561 วันหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สอนหุ่นยนต์ เรียนหุ่นยนต์



โรงเรียนสอนหุ่นยนต์ไดเอ็ดโรบอทชายด์ จังหวัดมหาสารคาม รับสอนหุ่นยนต์ ออกแบบหุ่นยนต์ เขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ สร้างสรรค์ปัญญาประดิษฐ์   ผู้เรียนเริ่มอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป สอบถามรายละเอียด โทร. 043-721822 , 081-2616667  email : pakdee277@gmail.com ( ทดลองเรียนก่อนได้ครับ )












วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ธุรกิจการศึกษาครบวงจร



                                                                  ธุรกิจการศึกษา

แชร์ประสบการณ์ธุรกิจการศึกษา
                        ธุรกิจการศึกษา      เป็นการจัดการศึกษาซึ่งเอกชนเป็นหน่วยรับภาระการจัดการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ระดับอาชีวศึกษา   และระดับอุดมศึกษา การจัดการดังกล่าวจำเป็นต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
                         รูปแบบการจัดการศึกษาอาจจะจัดในรูปของหลักสูตรระยะสั้น  ระยะยาว เป็นทางการ กึ่งทางการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับการศึกษา ได้เพิ่มพูนความรู้  ประสบการณ์  ทักษะ  กระบวนการ   และความสามารถในศาสตร์ใดๆก็ได้ ดังนั้นจึงมีตั้งแต่โรงเรียน   ซึ่งอาจจะไม่มีสถานที่ของตนเองเป็นการเช่าสถานที่ ห้องเรียนเป็นเพียงห้องหรือสองห้องขึ้นไปจนกระทั่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งเสนอหลักสูตรทางเลือกการเรียนอย่างหลากหลายมีผู้เรียนนับหมื่นคน
                         สำหรับธุรกิจการศึกษาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีการขออนุญาต  มีหน่ายงานของรัฐที่ควบคุมมาตรฐาน หลักสูตร กระบวนการเรียนหรือมีใบอนุญาตให้จัดตั้ง    ผู้ที่อยู่นอกวงการธุรกิจการศึกษาบางครั้งต้องการทำธุรกิจการศึกษา เพราะเป็นธุรกิจที่มั่นคง  ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรทำอะไรก่อนอะไรหลังจึงควรศึกษารายละเอียดจากบทความนี้
                         สรุปได้ว่าธุรกิจศึกษาเป็นธุรกิจที่สำคัญ  สำหรับสังคมที่จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่แตกต่างจากการบริหารธุรกิจทั่วไป  โดยมุ่งการสร้างสรรค์พลังทรัพยากรมนุษย์คุณภาพและธำรงเกียรติ ศักดิ์ศรีของมนุษย์ชาติ
                        สถาบัน Di-Ed  Learning Center  ในปัจจุบันได้ก่อตั้งเมื่อปี   พ.ศ.  2549       โดย ดร.ภักดี รัตนมุขย์ ซึ่งเคยรับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มา  39 ปี  ในช่วงที่อยู่ในวงการศึกษานั้นดร.ภักดี  เล็งเห็นว่าผู้จบการศึกษาในระดับการศึกษาต่างๆที่ต้องการเข้าทำงานในหน่วยงานต่างๆต้องการได้รับความรู้และทักษะในการสอบเข้าทำงาน หรือ การประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพ       จึงได้จัดทำเครื่องมือ     คือ หลักสูตร ที่มีความยืดหยุ่น มีอิสระ           และสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลของผู้จบการศึกษาที่ต้องการทำงานหรือมีอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ
                       ปัจจุบัน สถาบัน " Di-Ed Learning Center "  ยังยึดมั่นในคุณภาพมาตรฐานดั่งปรัชญาที่ว่า " เราจะดูแลผู้เข้ารับความรู้และทักษะในการเตรียมตัวสอบเข้าทำงาน  หรือเพื่อการประกอบอาชีพทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นครอบครัวของเรา ด้วยจิตวิญญาณครู "
                      เราไม่ได้ต้องการขายแฟรนไชส์    แต่เราต้องการสร้าง  " โรงเรียนดีๆ "หรือ"อาชีพดีๆ "ให้กับผู้เข้าร่วมรับความรู้และทักษะในการสอบเข้าทำงานหรือมีอาชีพที่ดี ในทุกจังหวัดของประเทศไทย
      รูปแบบหลักสูตร   สำหรับผู้สอบเข้าทำงาน หรือเข้าทำงานในหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และเอกชน
                      1. คอร์สโปรแกรมเรียนปกติ
                      2. คอร์ส โปรแกรม เสาร์ - อาทิตย์
                      3. คอร์สเร่งรัดสรุปก่อนสอบในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
หลักสูตรที่เปิดสอน
                     1. หลักสูตรครูผู้ช่วยทุกกระทรวงทบวงกรม (มีสอบตลอดปีรับเป็นแสนคน )      เช่น   สพฐ., สอศ., กทม., กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น , เทศบาล, อบจ. , อบต., พัทยา , กศน. , กรมศิลปากร, สถาบันการพลศึกษา, สถาบันการอาชีวศึกษา ฯลฯ
                     2. หลักสูตรกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น   (มีสอบตลอดปีรับเป็นหมื่นคน )    อบต. อบจ. เทศบาล  กทม. พัทยา
                     3. หลักสูตร กพ. 1, 2 , 3, 4   ปวส. ปริญญาตรี. ปริญญาโท ต้องผ่านหลักสูตร ภาค ก. กพ. สอบบรรจุข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง  กรม
                     4. หลักสูตรนายสิบตำรวจ ( รับสมัครปีละหลายครั้ง ประทวน  ปราบปราม  อำนวยการ )
                     5. หลักสูตรกรมสรรพากร
                     6. หลักสูตรกรมศุลกากร
                     7. หลักสูตรการบริบาล ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ  ( 6 เดือน ) เพื่อเข้าทำงาน และหลักสูตรอื่นๆ
                     8. รับปรึกษาการจัดทำธุรกิจ จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กและดูแลผู้สูงอายุ(ธุรกิจที่มีอนาคตตามนโยบาย Thailand  4.0 ของรัฐบาล )***
รูปแบบธุรกิจ ( การลงทุน )  
                     1. ค่าหลักสูตรและองค์ความรู้    72,000  - 110,000  บาท
                     2. ค่าเดินทางและค่าที่พักตามจริง
                     3  การให้คำปรึกษาในทุกด้านของการของการตั้งธุรกิจการศึกษา  การบริหารโรงเรียนระยะยาว ด้านการตลาดและสื่อการตลาด หลักสูตรและการสอน บริหารบุคคล สถานที่   การบริหารธุรกิจ
ระยะเวลาสัญญา    -  ปี
คุณสมบัติผู้ลงทุน
                     1. มีใจรักในงานอาชีพ
                     2. สามารถบริหารงานเต็มเวลาได้
                     3. มีทักษะในการตลาด
สิ่งที่ได้รับ    1. สิทธิในการใช้ชื่อ และเครื่องหมายสถาบัน ( ไม่บังคับ )
                     2. ได้รับการจัดหาและอบรมทีมครูสำหรับตอนตั้งสาขา และในแต่ละปี
                     3. สิทธิในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสอน
                     4. คู่มือหลักสูตร คู่มือการสอน สื่อ powerpoint
                     5. การอบรมครูผู้สอน 1 ครั้งต่อเทอม
                     6. สิทธิในการใช้เอกสารประกอบการสอน
                     7. คู่มือการจัดทำธุรกิจ
                     7. หนังสือของสถาบันฯ ทุกเล่มได้รับส่วนลด 25%
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 043 - 721822 , 084 - 2616661 ,062-6109997 ขอทราบรายละเอียด e-mail : pakdee277@gmail.com, facebook.com/dr.pakdee




















วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รับสั่ง ทำและจำหน่ายวัสดุไม้สักสำเร็จรูปทุกชนิด



รับสั่ง ทำและจำหน่าย ไม้สักไสเรียบ ,คิ้วไม้สัก,ไม้ท้องปลิง ,ไม้บัวล่างไม้สัก (ทุกลาย ) , ไม้บัวบนไม้สัก(บัวฝ้าและลายต่างๆ) , คิ้วตกแต่งไม้สัก (วงกบ) , ฝ้าระแนงไม้สัก , พื้นระแนงไม้สัก, ลูกบันไดไม้สัก เกรด A , ลูกบันไดไม้ประสานไม้สัก, ราวบันไดไม้สัก เกรด A , หน้าต่างสเปญตรงไม้สัก ,หน้าต่างบันไดลิง้ไม้สัก,จั่วไม้สัก,บานระบายอากาศเกล็ดนอน,บานระบายอากาศเกล็ดตั้ง และรับสั่งตามแบบตามขนาด บริการจัดส่งทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 084-261-6667 , email : pakdee277@gmail.com
 















วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แนวข้อสอบ พรบ.กฎหมายการศึกษาที่ใช้สอบครูผู้ช่วยทุกหน่วยราชการชุดที่ 4 100ข้อ



แนวข้อสอบ แนวข้อสอบพรบ.กฎหมายการศึกษาที่ใช้สอบครูผ้ช่วยทุกหน่วยราชการชุดที่4 100ข้อ1. ใครไม่ได้เป็นคณะกรรมการเขตพื้นทีการศึกษา
ก. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ ข. ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต
ค. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ง. ผู้แทนครู
2. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีจํานวนเท่าใด
ก. 15 คน ข. 9 คน
ค. 17 คน ง. 21 คน
3. ข้อใดไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก. บริหารและจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
ข. พัฒนางานด้านวิชาการและจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ค. พิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาและสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นทีการศึกษา
4. ใครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกคน
5. ข้อใดไม่ใช่ผู้แทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ผู้แทนองค์กรชุมชน ข. ผู้แทนองค์กรเอกชน
ค. ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ง. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น
6. ข้อใดไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของผู้อํานวยการสถานศึกษา
ก. ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ข. เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป
ค. อนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษา

ง. จัดทําแผนพัฒนาของสถานศึกษาเพื่อเสนอของบประมาณประจําปี
7. ผู้อํานวยการสถานศึกษาต้องจัดทํารายงานประจําปี ที่เกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาเพื่อเสนอต่อ
ใคร
ก. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ง. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและนิเทศของเขตพื้นที่การศึกษา
8. การจัดสรรงบประมาณในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอํานาจตามข้อใด
ก. เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี
ข. ประสานการจัดสรรงบประมาณในการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาใน
สังกัดในกำกับ
ค. เสนอการจัดตั้งงบประมาณ
ง. ควบคุม ดูแลการบริหารจัดการงบประมาณ
9. คณะกรรมการใดที่ทําหน้าที่เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลสําหรับข้าราชการพลเรือนใน
สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาในกำกับ
ก. ก.พ. ข. ก.ม.
ค. ก.ค. ง. ก.ค.ศ.
10. ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้้นพื้นฐานกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการด้าน
ใดไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษาด้านใด
ก. ด้านวิชาการ ข. ด้านงบประมาณ
ค. ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านทั่วไป ง. ทุกด้าน
11. การกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐานข้อใดไม่ได้กำหนดไว้

ก. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ข. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ง. สถานศึกษา
12. การมอบอํานาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้แก่ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อํานวยการสถานศึกษา
ให้คํานึงถึงข้อใดเป็นพิเศษ
ก. ความเป็นอิสระและการบริหารงานที่คล่องตัว
ข. ความถูกต้องโปร่งใสตรวจสอบได้
ค. ตําแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ง. ความสะดวกรวดเร็วและการบริการประชาชน
13. การมอบอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้แก่ตําแหน่งใดไม่ถูกต้องตาม
กฎหมาย
ก. ปลัดกระทรวง ข. เลขาธิการ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ผู้อํานวยการโรงเรียนหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
14. การมอบอํานาจของเลขาธิการ ข้อใดไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ก. มอบให้รองหรือผู้ช่วยเลขาธิการ ข. มอบให้ผู้อํานวยการสํานัก
ค. มอบให้รองผู้อํานวยการสํานัก ง. มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
15. การมอบอํานาจของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ข้าราชการในสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาให้เป็นไปตามข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ค. ระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ง. ระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
16. การมอบอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อํานวยการ
สํานักผอ.สพท.และผอ.สถานศึกษาให้ทําตามข้อใด

ก. กฎกระทรวง ข. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. ทําเป็นหนังสือ ง. ทําป็นคําสั่ง

17. การมอบอํานาจตามข้อใดผู้รับมอบอํานาจจะมอบอํานาจนั้นต่อไปไม่ได้
ก. รมต.ศธ.มอบอํานาจให้ ผวจ.
ข. ปลัดกระทรวงมอบอํานาจให้ ผวจ.
ค. เลขาธิการมอบให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
18. ในการมอบอํานาจ ให้ผู้มอบอํานาจพิจารณาถึงข้อใดเป็นอันดับแรก
ก. การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
ข. ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
ค. การกระจายความรับผิดชอบ
ง. วัตถุประสงค์ของการมอบ
19. การมอบอํานาจของบุคคลในตําแหน่งใด ให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนไม่ถูกต้อง
ก. เลขาธิการมอบอํานาจให้ ผอ.สถานศึกษา/ผู้วาราชการจังหวัด
ข. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่มอบอํานาจให้ข้าราชการครูในสังกัด
ค. ผอ.สถานศึกษามอบอํานาจให้ ข้าราชการในสถานศึกษา
ง. ผวจ.มอบอํานาจให้ ผู้ช่วยผู้ว่าตามที่ได้รับมอบจาก รมต.ศธ.
20. ในการปฏิบัติราชการแทน ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ผอ.สพท.อาจมอบอํานาจให้แก่ข้าราชการใน สพท.ได้ตามคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำหนด
ข. ผู้อํานวยการสถานศึกษามอบอํานาจให้ข้าราชการในสถานศึกษาตามระเบียบที่คณะกรรมการเขต
พื้นที่การศึกษากำหนด
ค. ผวจ.อาจมอบอํานาจให้แก่รอง ผวจ.ตามที่ได้รับมอบอํานาจ แต่ต้องแจ้งให้ผู้มอบอํานาจชั้นต้น
ทราบ

ง. ผวจ.จะมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสถานศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอํานาจชั้นต้น
แล้ว
21. บุคคลในตําแหน่งใดที่มอบอํานาจให้ ผวจ.ปฏิบัติราชการแทนไม่ได้
ก. เลขาธิการ กพฐ. ข. รมต.
ค. ปลัดกระทรวง ง. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
22. เมื่อได้มอบอํานาจแล้ว ผู้มอบอํานาจมีหน้าที่ยกเว้นข้อใด
ก. กำกับติดตามผล
ข. แนะนําแก่ผู้รับมอบอํานาจ
ค. แกไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจ
ง. แต่งตั้งคนอื่นรักษาราชการแทน
23. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ข้อใดที่ปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมาย
ก. รัฐมนตรีมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน
ข. รัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทน
ค. คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ปลัดกระทรวง รักษาราชการแทน
ง. คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
24.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการ ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน
ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ง. เลขาธิการ
25.ตําแหน่งใดที่รักษาราชการแทนผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้
ก. รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. หัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนประวัติ
ค. ผู้อํานวยการสถานศึกษา
ง. ข้าราชการในเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ตํ่ากว่าผู้อํานวยการสถานศึกษา

26. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการสถานศึกษา ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติ
ราชการแทนจะใช้ในการปฏิบัติราชการอยางไร
ก. รักษาราชการแทน ข. รักษาการในตําแหน่ง
ค. ปฏิบัติราชการแทน ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน
27. ส่วนราชการตามข้อใดไม่ได้เป็นนิติบุคคล
ก. สํานักงานรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ง. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
28. การแบ่งส่วนราชการในสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตราเป็นกฎหมายใด
ก. ประกาศกระทรวง ข. ออกเป็นกฎกระทรวง
ค. ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ง. คําสั่งกระทรวง
29. ใครไม่ได้เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตําแหน่ง
ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ข. เลขาธิการสภาการศึกษา
ค. เลขาธิการ สมศ. ง. ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
30. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกี่คน
ก. ไม่เกิน 26 คน ข. 26 คน
ค. 27 คน ง. ไม่เกิน 27 คน
31. การประกาศกาหนดเขตพื้นที่การศึกษาข้อใดทําได้ถูกต้อง
ก. รัฐมนตรีประกาศ
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของสภาการศึกษา
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของสภาการศึกษา
32. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดขึ้นตามข้อใด
ก. มาตรา 15 ข. มาตรา 17
ค. มาตรา 39 ง. มาตรา 40

33. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546 ใช้บังคับเมื่อใด
ก. 10 มิถุนายน 2546 ข. 11 มิถุนายน 2546
ค. 12 มิถุนายน 2546 ง. 13 มิถุนายน 2546
34. คุรุสภามีฐานะตามข้อใด
ก. นิติบุคคล ข. นิติบุคคลในกำกับของรัฐมนตรี
ค. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ  ง. นิติบุคคลในกำกับของรัฐ
35. คณะกรรมการคุรุสภามีจํานวนตามข้อใด
ก. 38 คน ข. 39 คน
ค. 40 คน ง. 41 คน
36. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีจํานวนตามข้อใด
ก. 16 คน ข. 17 คน
ค. 18 คน ง. 19 คน
37. ข้อใดไม่ใช่วิชาชีพควบคุม
ก. วิชาชีพครู ข. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
ค. วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ง. วิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา
38. ข้อใดมิใช่องค์ประกอบของมาตรฐานวิชาชีพ
ก. ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ข. การปฏิบัติงาน
ค. การปฏิบัติตน ง. การปฏิบัติต่อหน้าที่
39. การพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามข้อใด
ก. ไม่เกิน 2 ปี ข. ไม่เกิน 3 ปี
ค. ไม่เกิน 4 ปี ง. ไม่เกิน 5 ปี
40. สมาชิกคุรุสภามีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท

41. คณะกรรมการส่งเสิรมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีจํานวนเท่าใด
ก. 20 คน ข. 21 คน
ค. 22 คน ง. 23 คน
42. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อใดถูกต้อง
ก. ฉบับละ 200 บาท ข. ฉบับละ 300 บาท
ค. ฉบับละ 500 บาท ง. ฉบับละ 600 บาท
43. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ไม่รวมถึงข้อใด
ก. ครู ข. ผู้บริหารการศึกษา
ค. ผู้บริหารสถานศึกษา ง. คณาจารย์
44. ตําแหน่งใดไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ก. ครูโรงเรียนเอกชน ข. ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน
ค. ผู้บริหารการศึกษาเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ง. พนักงานครูเทศบาล
45. คุรุสภา มีฐานะเป็นอะไร
ก. องค์การมหาชน ข. องค์การเอกชน
ค. องค์กรอิสระ ง. ส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
46. ข้อใดไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคุรุสภา
ก. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
ข. ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพ
ค. รับรองปริญญาประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตร
ง. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
47. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของคุรุสภา
ก. ออกและเพิกถอนใบอนุญาต
ข. กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาวิชาชีพ
ค. รับรองความรู้และประบการณ์ทางวิชาชีพ

ง. พัฒนาวิชาชีพ
48. คณะกรรมการคุรุสภา มีจํานวนกี่คน
ก. 23 คน ข. 26 คน
ค. 37 คน ง. 39 คน
49. ตําแหน่งใดไม่ใช่คณะกรรมการคุรุสภาโดยตําแหน่ง
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ข. เลขาธิการสภาการศึกษา
ค. เลขาธิการ กคศ. ง. เลขาธิการ ก.พ.
50. ใครเป็นประธานคณะกรรมการคุรุสภา

ก. ผู้ทรงคุณวุฒิ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ่
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ง. นายกรัฐมนตรี

51. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน
ก. 15 คน ข. 17 คน
ค. 23 คน ง. 27 คน
52. ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยตําแหน่ง
ก. เลขาธิการ กพฐ. ข. เลขาธิการ กอศ.
ค. เลขาธิการคุรุสภา ง. เลขาธิการ กคศ.
53. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกี่คน
ก. 15 คน ข. 17 คน
ค. 23 คน ง. 29 คน
54. ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ  ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการ กพฐ. ง. ผู้ทรงคุณวุฒิ
55. ข้อใดไม่ใช่ใบประกอบวิชาชีพควบคุม
ก. วิชาชีพครู ข. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

ค. วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ง. วิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา
56. ข้อใดไม่ใช่โทษของผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา

ก. ยกข้อกล่าวหา ข. ตักเตือน
ค. ภาคทัณฑ์ ง. พักใช้ใบอนุญาต

57. ในการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ทําได้ไม่เกินกี่ปี
ก. ไม่เกิน 3 เดือน ข. ไม่เกิน 6 เดือน
ค. ไม่เกิน 1 ปี ง. ไม่เกิน 5 ปี
58. ในการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นอํานาจของใคร

ก. คณะกรรมการคุรุสภา ข. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ค. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพ ง. ก.ค.ศ.
59. ผู้ใดประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษตามข้อใด
ก. จําคุกไม่เกิน 1 ปี
ข. ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ค. จําคุกไม่เกิน 1 ปี /ปรับไม่เกิน 20,000 บาท/ทั้งจําทั้งปรับ
ง. จําคุกไม่เกิน 3 ปี /ปรับไม่เกิน 60,000 บาท/ทั้งจําทั้งปรับ
60. สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษาโดยไม่ได้รับ
อนุญาตจากคุรุสภา ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จําคุกไม่เกิน 6 เดือน/ปรับไม่เกิน 10,000 บาท/ทั้งจําทั้งปรับ
ข. จําคุกไม่เกิน 1 ปี /ปรับไม่เกิน 20,000 บาท/ทั้งจําทั้งปรับ
ค. จําคุกไม่เกิน 3 ปี /ปรับไม่เกิน 60,000 บาท/ทั้งจําทั้งปรับ
ง. พักหรือเพิกถอนใบอนุญาต
61. อัตราค่าธรรมเนียมข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 600 บาท
ข. ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ 200 บาท


ค. ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท
ง. ค่าหนังสืออนุมัติ ฉบับละ 300 บาท
62. เลขาธิการคุรุสภา ดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 4 ปี
ค. 6 ปี ง. 3 ปี
63. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที 2)ประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเมื่อใด
ก. 20 กุมภาพันธ์ 2551 ข. 21 ธันวาคม 2551
ค. 24 ธันวาคม 2547 ง. 21 กุมภาพันธ์ 2551
64. บุคลากรทางการศึกษา ตามความหมายของ พ.ร.บ.นี้ ไม่ได้หมายถึงข้อใด
ก. อาจารย์ ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ผู้บริหารการศึกษา ง. ผู้สนับสนุนการศึกษา
65. หน่วยงานการศึกษา ยกเว้นข้อใด
ก. สถานศึกษา ข. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สํานักงานการศึกษานอกโรงเรียน ง. ศูนย์การศึกษาพิเศษ
66. สถานศึกษา ยกเว้นข้อใด
ก. ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
ข. แหล่งเรียนรู้
ค. ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ง. วิทยาลัยชุมชน
67. หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ข้อใด ไม่ถูกต้อง
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. เลขาธิการสภาการศึกษา

ง. เลขาธิการ กคศ.
68. จํานวนของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากี่คน        
ก.
39 คน ข. 17 คน
ค. 21 คน ง. 28 คน
69. ใครเป็นประธาน กคศ.
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ครม.แต่งตั้ง ง. ผู้ทรงคุณวุฒิที่รมต.แต่งตั้ง
70. ใครไม่ได้เป็นกรรมการใน กคศ.
ก. เลขาธิการสภาการศึกษา
ข. เลขาธิการคุรุสภา
ค. เลขาธิการ ก.พ. ง. เลขาธิการ กคศ.

71. องค์ประกอบของคณะกรรมการใน กคศ.ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กรรมการโดยตําแหน่ง จำนวน 9 คน ข. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 9 คน
ค. กรรมการผู้แทนข้าราชการครู จํานวน 9 คน ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธาน
72. กรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีประสบการณ์ด้านการบริหารกี่ปี

ก. 5 ปี ข. ข. 10 ปี
ค. 15 ปี ง. ไม่ได้จํากัด

73. ผู้ใดไม่ได้เป็นอนุกรรมการ อกคศ.เขตพื้นที่การศึกษาโดยตําแหน่ง
ก. ผอ.สพท. ข. ผู้แทน กคศ.
ค. ผู้แทนคุรุสภา ง. ข้อ ข และ ค.
74. ตําแหน่งที่มีวิทยฐานะในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ข. รองผู้อํานวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ
ค. ผู้อํานวยการเชี่ยวชาญพิเศษ ง. ผอ.สพท.เชี่ยวชาญ
75. การบรรจุและแต่งตั้งข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องนําความกราบบังคมทูล

ข. ผอ.สพท.เชี่ยวชาญพิเศษ รมต.ศธ.เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ โปรดเกล้าแต่งตั้ง
ค. รอง ผอ.สพท. เลขาธิการ กพฐ.สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ง. ผอ.สถานศึกษาชํานาญการ ผอ.สพท.เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
76. ข้อใดไม่ใช่โทษทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ลดขั้นเงินเดือน ข. ให้ออก
ค. ปลดออก ง. ไล่ออก
77. ผู้ที่ถูกลงโทษสถานใดยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
ก. ลดขั้นเงินเดือน ข. ปลดออก
ค. ให้ออก ง. ไล่ออก
78. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกดเขตพื้นที่ถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
ลดขั้นเงินเดือน ให้มีสิทธิตามข้อใด
ก. อุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาภายใน 30 วัน
ข. อุธรณ์ต่อก.ค.ศ.ภายใน 30 วัน
ค. อุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาภายใน 90 วัน
ง. อุธรณ์ต่อก.ค.ศ.ภายใน 90 วัน
79. กรรมการผู้แทนข้าราชการครู ต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 5 ปี ข.10 ปี
ค. 15 ปี ง. 20 ปี
80. ผู้ใดเป็นกรรมการโดยตําแหน่งใน กคศ.
ก. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. เลขาธิการ ก.พ.
ง. เลขาธิการสภาการศึกษา
81. ตําแหน่งใดไม่ได้เป็ นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษาตามมาตรา 38(ก)

ก. ผู้ช่วยครู ข. อาจารย์
ค. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ง. ศาสตราจารย์

82. ตําแหน่งใดต่อไปนี้มีวิทยฐานะไม่เหมือนกับตําแหน่งอื่น
ก. ครูผู้สอน ข. ศึกษานิเทศก์
ค. ผู้อํานวยการสถานศึกษา ง. รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
83. ตําแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เทียบเท่าวิทยฐานะใด
ก. ครูชํานาญการ ข. ครูชํานาญการพิเศษ
ค. ครูเชี่ยวชาญ ง. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
84. ข้อใดกล่าวถึง หมวด 1 ได้ถูกต้อง
ก. บททั่วไป  ข. คณะกรรมการบริหารงานบุคคล
ค. การกำหนดตําแหน่ง ง. การบรรจุแต่งตั้ง
85. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงข้าราชการครูได้ถูกต้อง
ก. ผู้ทําหน้าที่ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน
ข. ผู้ทําหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
ค. ผู้ทําหน้าที่ด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐ
ง. ผู้สนับสนุนการศึกษา
86. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม พรบ.นี้ยกเว้นกระทรวงใด
ก. กระทรวงศึกษาธิการ ข. กระทรวงวัฒนธรรม
ค. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ง. กระทรวงมหาดไทย
87. อํานาจหน้าที+ของ กคศ.ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กาหนดเกณฑ์อัตรากำลัง ข. พัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการ
ค. พัฒนาระบบข้อมูล ง. ยับยั้งการปฏิบัติชั่วคราว
88. คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. อายุไม่ตํ่ากว่า 35 ปี บริบูรณ์และไม่เกิน 70 ปี

ข. ไม่ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
ค. ได้รับการยอมรับในความซื่อสัตย์และยุติธรรม
ง. เป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
89. คุณสมบัติของกรรมการใน กคศ.ข้อใดไม่เหมือนกันมากที่สุด
ก. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอน
ข. ประสบการณ์การทํางาน
ค. ได้รับการยอมรับในซื่อสัตย์ ยุติธรรมและไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม
ง. วุฒิทางการศึกษา
90. คุณสมบัติของกรรมการใน กคศ.ข้อใดเหมือนกันทุกคน
ก. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอน
ข. ประสบการณ์การทํางาน
ค. ได้รับการยอมรับในความซื่อสัตย์ ยุติธรรมและไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม
ง. วุฒิทางการศึกษา
91. อํานาจและหน้าที่ของ ก.ค.ศ.ในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่ ค.ร.ม.
ข. กำหนดนโยบาย วางแผน กาหนดเกณฑ์อัตรากำลังครู
ค. รับรองคุณวุฒิ หรือ ประกาศนียบัตร
ง. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติตาม พรบ.
92. การจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือนปี เกิดและควบคุมการ
เกษียณอายุของข้าราชการครู เป็นบทบาทหน้าที่ของใคร
ก. คณะกรรมการ กคศ. ข. สํานักงาน กคศ.
ค. เลขาธิการ กคศ. ง. กระทรวงศึกษาธิการ
93. วิเคราะห์วิจัย พัฒนาระบบข้อมูลและประสานงานการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาเป็นอํานาจหน้าที่ของใคร

ก. สํานักงาน กคศ. ข. สํานักงานคุรุสภา
ค. สํานักงาน สก.สค. ง. สพฐ.
94. องค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ประธานอนุกรรมการ เลือกกันเองจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ข. อนุกรรมการโดยตําแหน่งจํานวน 2 คน
ค. ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ต้องไม่เป็นข้าราชการครู
ง. ผู้แทนข้าราชการครู 5 คน
95. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นทีการศึกษาในองค์ประกอบต้องไม่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ผู้แทนคุรุสภา ข. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง
ค. ผู้แทน กคศ. ง. ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
96. ข้อใดกล่าวถึงอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาถูกต้อง
ก. ผู้แทนผู้บริหาร 1 คน ข. ผู้แทนข้าราชการครู 1 คน
ค. ผู้แทนบุคลากร 1 คน ง. ผู้แทน ก.ค.ศ. 2 คน
97. อํานาจและหน้าที่พิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกด สพท.เป็นอํานาจหน้าที่ของใคร
ก. ผู้อํานวยการสถานศึกษา ข. ผอ.สพท.
ค. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ง. คณะกรรมการกลั่นกรองที่แต่งตั้ง
98. ข้อใดมีอํานาจหน้าที่จัดทําทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอํานาจ
หน้าที่ของใคร
ก. ก.ค.ศ. ข. ผอ.สพท.
ค. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ง. ส านักงาน ก.ค.ศ .
99. อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคล  ข. เสนอแนะการบรรจุแต่งตั้ง
ค. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานบุคคล   ง. เสนอความต้องการจํานวนและอัตราตําแหน่ง

100. อํานาจและหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. บรรจุแต่งตั้งบุคลาการในสถานศึกษาข. ประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครู
ค. จัดทํามาตรฐานภาระงานครู ง. พิจารณาความดีความชอบ

เฉลย ข้อสอบกฎหมาย ชุดที่ 4
 1. ก 2.ค 3.ง 4.ก 5. ข 6.ง 7.ค 8.ก 9. ข 10. ง 11. ค 12.ก 13.ง 14.ค 15. ค 16.ค 17.ค 18. ก 19. ข
20. ข 21. ง 22.ง 23. ง 24.ข 25. ข 26. ก 27.ก 28.ข 29.ง 30. ง 31.ง 32.ก 33. ค 34. ค 35.ข 36.ข 37. ง
38.ง 39.ง 40.ก 41. ง 42. ค 43.ง 44.ค 45.ก 46. ง 47. ค 48.ง 49. ง 50. ก 51. ข 52. ค 53.ค 54.ข 55.ง

56.ก 57.ง 58.ข 59.ค 60.ค 61. ง 62. ข 63.ก 64.ก 65.ง 66.ข 67. ง 68. ง 69. ก 70. ก 71. ก 72. ก 73. ก
74.ข 75. ข 56 76.ข 77.ข 78.ก 79. ค 80. ค 81. ก 82.ง 83.ข 84.ข 85. ข 86.ง 87.ค 88. ก 89. ค 90.ค
91. ง 92. ก 93.ก 94. ค 95. ค 96. ค 97. ข 98.ข 99. ข 100.ก

 มีหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วยทุกหน่วยราชการจำหน่ายราคาพิเศษ>> http://pakdee277.blogspot.com/2016/12/blog-post_28.html <<
  

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข้อมูล pageQQ




ข้อมูล PageQQ

ข้อมูล PAGEQQ 

PageQQ เป็น ซอร์ฟแวร์ 
ที่อยู่ในบริษัท "เซิร์ฟ โฟร์ บิท จำกัด" 

ซึ่งได้เขียนโปรแกรมให้กับหลากหลายบริษัท 
PageQQ เป็นลักษณะ social network ให้ผู้ใช้งานติดต่อสื่อสารกัน
ผ่านอินเตอร์เน็ต 
โดยผู้ใช้มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกับ www.

โดยมี คุณ วัชรพงศ์  ทัศน์สูงเนิน 
เป็นเจ้าของบริษัท 
ผู้สร้าง www.pageqq.com 

การตลาด/การเงิน ดูแลโดยคุณ 
ธวัลพร อารีจิตรานุสรณ์ (มาริษา)




ประธาน CEO คุณ วัชรพงศ์ ทัศน์สูงเนิน  ( โอม) 





10 ขวบ อ่านหนังสือปริญญานิพนธ์ของ นักศึกษา ป.โท  เขียนโปรแกรมเกมส์ครั้งแรก

14 ปี เข้าสู่การศึกษาภาษาโปรแกรม เขียนได้ทุกภาษาโปรแกรม

21 ปี เปิดบริษัทของตัวเอง ชื่อ serv4biz  เป็นบริษัทขายโปรแกรม ให้กับหลากหลายบริษัท  จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย...

ปัจจุบัน อายุเพียง 26 ปี   สร้าง www.pageqq.com ด้วยตัวเอง เขียนทุก code ใน Program  นี้
และโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทน  จดลิขสิทธิ์ทางปัญญาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้อง


ผู้ดูแลการเงิน 
คุณ ธวัลพร  อารีจิตรานุสรณ์ (คุณมาริษา)





ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมธิการ การเงิน การคลัง ธนาคาร และสถาบันการเงิน...

ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมธิการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร

เจ้าของธุรกิจขายเครื่องบินให้กองทัพอากาศ
และหลากหลายธุรกิจด้านการนำเข้า

ปัจจุบันดูแลการเงิน ที่ PageQQ