คติเรื่อง 12 นักษัตรเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่มีมาแต่โบราณกาล เรียกได้ว่าเก่าแก่ระดับดึกดำบรรพ์ กระทั่งการค้นหาที่มาต้นตอการใช้สัตว์เป็นชื่อปี (และมีแนวโน้มที่คตินี้กำลังถูกใช้ในการออกสลากเป็น “ครั้งแรกในโลก” ตามการกล่าวอ้างของคนไทย) นักวิชาการส่วนใหญ่ถึงกับบอกว่า สืบค้นหาหลักฐานยาก แต่ก็ยังพอปะติดปะต่อเค้าโครงบางอย่างพอบอกเล่าความเป็นมาของสัตว์และการใช้สัตว์เป็นชื่อปีจากความเชื่อของคนบางกลุ่มได้บ้าง
ราชบัณฑิตยสภาบรรยายความหมายของคำว่า “นักษัตร” ตรงกับคำอธิบายของสมบัติ พลายน้อย ซึ่งนิยามว่าหมายถึง “ชื่อรอบเวลากำหนด 12 ปี เป็ฯ 1 รอบ เรียกว่า 12 นักษัตร” โดยกำหนดให้สัตว์ 12 ชนิดเป็นเครื่องหมายแต่ละปี เริ่มจากปีชวด มีหนูเป็นเครื่องหมาย ปีฉลู มีวัวเป็นเครื่องหมาย ปีขาล มีเสือเป็นเครื่องหมาย ปีเถาะ มีกระต่ายเป็นเครื่องหมาย ปีมะโรง มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย ปีมะเส็ง มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย ปีมะเมีย มีม้าเป็นเครื่องหมาย ปีมะแม มีแพะเป็น
ปีชวด : ชง 50%
เครื่องหมาย ปีวอก มีลิงเป็นเครื่องหมาย ปีระกา มีไก่เป็นเครื่องหมาย ปีจอ มีหมาเป็นเครื่องหมาย ปีกุน มีหมูเป็นเครื่องหมาย
สมบัติ พลายน้อย บรรยายว่า 12 นักษัตรนั้นมีในกลุ่มเอเชียเท่านั้น ประเทศที่ปรากฏความเชื่อนี้โดยมากก็ใกล้ชิดหรือมีความสัมพันธ์กับไทย อาทิ จีน ญวน ญี่ปุ่น เกาหลี กัมพูชา ลาว ทิเบต ไทใหญ่ ซึ่งประการนี้อาจสะท้อนได้ว่า ชนเหล่านี้มีความเป็นมาที่สืบเนื่องมาจากที่เดียวกันก็เป็นได้
คำถามที่สำคัญซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า ไทยรับแนวคิดเรื่อง 12 นักษัตรนี้มาจากไหน หลักฐานของไทยก็ปรากฏในหลายแห่ง เริ่มตั้งแต่ตำนานการตั้งจุลศักราชกล่าวว่า เริ่มต้นใช้จุลศักราช 1 เมื่อเช้าวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุนเอกศก ตรงกับพุทธศักราช 1182 เมื่อเห็นว่าเริ่มที่ปีกุน บ่งชี้ว่าปีนักษัตรมีมาก่อนปีจุลศักราช แต่จะเริ่มเมื่อใดนั้นก็ยังไม่สามารถชี้เฉพาะได้อย่างชัดเจน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กล่าวถึง “1214 สกปีมะโรง” สมบัติ พลายน้อย ตีความว่า เมื่อ พ.ศ. 1835 ไทยก็ได้ใช้ปีนักษัตรแล้ว หรืออาจมีใช้กันก่อนหน้านี้แล้วก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
สอบถามเพิ่มเติม เบอร์โทร.หรือLine 0842616667
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น