วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สถิติ 5 วิชาเอกสอบครูผู้ช่วย สพฐ.ที่มีการแข่งขันดุเดือดที่สุดในปี60

                ปัจจุบันการสอบบรรจุแข่งขันเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย  สมัครสอบ แยกเป็นจังหวัดตามสาขาที่เปิดรับสมัคร ซึ่งในช่วงเปิดรับสมัครสอบ มีหลายๆคนสอบถามกันเข้ามาว่า จะเลือกสมัคร จังหวัด ไหนดี จึงนำข้อมูล การสอบ ปี 60 ที่ผ่านมาว่า จำนวนผู้สมัคสอบมากที่สุด 5 จังหวัด และ สาขาที่มากที่สุด มีดังต่อไปนี้
สพฐ.สรุปยอดสมัครสอบครูผู้ช่วย ปี 2560 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 198,691 คน มีตำแหน่งว่างบรรจุได้ 6,437 อัตรา ใน 61 สาขา วันนี้ (5 มี.ค.) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2560 ใน 64 จังหวัด และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)ระหว่างวันที่ 29มี.ค.-4 เม.ย.2560 โดยมีตำแหน่งว่างบรรจุได้ 6,437 อัตรา ใน 61 สาขา ซึ่ง ปีนี้มี 36 สาขา รับสมัครเฉพาะผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยมีอัตราบรรจุได้ 4,357 อัตรา และ อีก 25 สาขา รับสมัครผู้ที่มีและไม่มีใบอนุญาตฯ มีอัตราบรรจุได้ 2,080 อัตรา นั้น ปรากฏว่ามีผู้สมัคร ทั้งสิ้น 198,691 คน แยกเป็นกลุ่มที่มีใบประกอบวิชาชีพครู หรือ ผ่านหลักสูตรครู 5 ปี จำนวน 116,909 คน และ กลุ่ม25 สาขา รับสมัครผู้ที่มีและไม่มีใบอนุญาตฯ มีผู้สมัครสอบ ทั้งสิ้น 81,782 คน ซึ่ง 5 จังหวัดที่มีผู้สมัครมาก ได้แก่
นครราชสีมา 14,656 คน
กรุงเทพฯ 12,294 คน
ชลบุรี 9,642 คน
บุรีรัมย์ 8,466 คน
สุรินทร์ 7,798 คน
สำหรับสาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 22,227 คน
ภาษาอังกฤษ 20,944 คน
สังคมศึกษา 20,475 คน
คอมพิวเตอร์ 17,053 คน

คณิตศาสตร์ 16,676 คนนอกจากนี้ยังพบว่า คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) สุรินทร์ ได้เปิดกลุ่มวิชาภาษาเขมร 1 อัตรา แต่ไม่มีผู้มาสมัครสอบ เพราะไม่มีในหลักสูตร และไม่เคยมีการประกาศรับสมัครมาก่อน ดังนั้น กรณีนี้จะแก้ปัญหาโดยการจ้างครูอัตราจ้างชั่วคราวไปก่อน แต่จะนำไปเป็นข้อมูลในการประกาศสอบในครั้งต่อไป เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วซึ่งจะต้องเรียนรู้ภาษาอาเซียน ไม่ใช่เฉพาะภาษาเขมรอย่างเดียวแต่ต้องเรียนรู้ทุกภาษาในอาเซียนด้วย “หลังจากประกาศผลการสอบคัดเลือกแล้ว สพฐ.ในฐานะผู้ใช้ครูจะรวบรวมข้อมูลผู้สมัครสอบใน 25 สาขาวิชา ว่าผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ และผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูลในการวางแผนการรับคนที่จะเข้ามาเป็นครู ว่า การรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กับ การเปิดกว้างรับผู้จบปริญญาตรีจากสาขาอื่นๆ สพฐ.จะได้รับประโยชน์อย่างไร”นายการุณ กล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น