วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จับตาอาเซียน

จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1.ประเทศสิงคโปร์ จุดแข็ง • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก • การเมืองมีเสถียรภาพ • เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ • แรงงานมีทักษะสูง • ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ • >>อ่านต่อที่นี่<<อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/#ixzz3JggFUtHg

แนวโน้มธุรกิจที่ไปได้ดี SMEs 8 กลุ่ม

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้มีการ คาดการณ์SMEsที่มีแนวโน้มดีในปี 2556  ได้แก่ 1. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ จากการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ป้อนผู้สั่งจองในประเทศจากนโยบายรถคันแรก และตลาดในต่างประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว >>อ่านต่อที่นี่<<อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/#ixzz3JggeWecH

CATEGORY : บทความ AEC สำคัญที่ควรอ่าน

แกะรอยเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน..สิงคโปร์โมเดล

การเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้จะตามมาด้วยการเปิดเสรีด้านการลงทุนในแถบภูมิภาคนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน หลายประเทศทั่วโลกมองกลุ่มประเทศอาเซียนว่าน่าสนใจลงทุน และแต่ละประเทศก็มีจุดดีและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/category/aec-must-read#ixzz3Jghx1cRL



เปรียบแรงงานไทย กับต่อสิงคโปร์ และมาเลเซียในอาเซียน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า สถานะของตลาดแรงงานไทยในภาพรวม อยู่ในระดับกลางเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยแรงงานไทยมีจุดเด่นด้านการทำงานที่ต้องอาศัยความละเอียดและความคิดสร้างสรรค์ แต่เสียเปรียบอินโดนีเซียและกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ในด้านจำนวนแรงงานและต้นทุนค่าแรง อ่อนด้อยกว่าฟิลิปปินส์
ด้านภาษา และยังไล่หลังสิงคโปร์และมาเลเซียในด้านคุณภาพและผลิตภาพแรงงาน เมื่อมองตลาดแรงงานทักษะสูง พบว่า สิงคโปร์ และมาเซียอยู่ในแถวหน้า ซึ่งเป็นผลจากการยกระดับมาตรฐานการศึกษา ความได้เปรียบด้านการใช้ภาษาอังกฤษและจีน ทำให้แรงงานส่วนใหญ่มีทักษะสูงมาก สามารถรองรับอุตสาหกรรมไฮเทคและเทคโนโลยีซับซ้อนและธุรกิจบริการได้เป็นอย่างดี
เมื่อพิจารณาเรื่องกำลังแรงงานด้วยจะเห็นว่าฟิลิปปินส์มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับมาเลเซียที่เริ่มมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และสิงคโปร์ที่ตลาดแรงงานตึงตัวรุนแรง ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียและไทยมีความโดดเด่นเรื่องจำนวนแรงงานกึ่งทักษะที่สามารถทำงานได้ทั้งอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานและอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเทคโนโลยี อินโดนีเซียได้เปรียบด้านความพอเพียงของจำนวนแรงงานและค่าจ้างแรงงานที่ถูกเมื่อเทียบกับไทยที่ตลาดแรงงานมีสัญญาณตึงตัวในกลุ่มแรงงานทักษะระดับล่างและแรงงานกึ่งทักษะ
กลุ่ม CLMV ได้เปรียบด้านต้นทุนค่าแรงต่ำและมีแรงงานจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นแรงงานทักษะระดับล่างอ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/888#ixzz3JgiU3r9J
ที่มา :  มติชนสุดสัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น